คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยแพร่สาร เนื่องใน “วันแรงงานสากล” 1 พฤษภาคม ประจำปี 2566 ว่า สิทธิแรงงานเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงาน เพื่อให้ได้รับสิทธิการเข้าถึงการจ้างงานโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ สิทธิในการได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สิทธิที่จะมีหลักประกันสังคมอย่างทั่วถึง ครอบคลุมแรงงานทุกคน ทุกประเภท ทั้งแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานภาคบริการ "วันแรงงานแห่งชาติ" ชวนให้ความสำคัญของความยุติธรรมทางสังคม
1 พฤษภาคม "วันแรงงานแห่งชาติ" เปิดที่มาของวันหยุดสำคัญประจำปี คำพูดจาก สล็อตฝ
หนี้ครัวเรือนแรงงานไทย แตะ 2.7 แสนบาทต่อครัวเรือน สูงสุดในรอบ 13 ปี
รวมทั้งได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ก่อตั้งสหภาพแรงงานหรือองค์กรของแรงงาน เพื่อให้สามารถเจรจาต่อรองกับนายจ้างและรัฐจึงเป็นเรื่องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
โดยสังคมปัจจุบันได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 นำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในสังคม โดยมีการจ้างงานในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น อาชีพรับส่งสินค้าหรืออาหาร (ไรเดอร์) ซึ่งเป็นอาชีพอิสระ และมีข้อถกเถียงกันว่ารูปแบบการจ้างงานเช่นนี้ถือว่าเป็นนิติสัมพันธ์ที่เข้าข่ายเป็นลูกจ้าง-นายจ้างหรือไม่ และแรงงานเหล่านี้ควรได้รับการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิแค่ไหน อย่างไร
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม ข้อ 9 ได้รับรองสิทธิของทุกคนในอันที่จะมีสวัสดิการสังคมรวมทั้งการประกันสังคม และ ข้อ 11 ได้รับรองสิทธิของทุกคนในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับตนเองและครอบครัว ซึ่งคณะกรรมการประจำกติกา ICESCR มีความเห็นว่ารัฐต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าระบบประกันสังคมจะครอบคลุมแรงงานที่ไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานอิสระ
เนื่องในวันแรงงานสากล 1 พฤษภาคม ประจำปี 2566 กสม. ขอเน้นย้ำความสำคัญของสิทธิแรงงาน โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคีเครือข่ายด้านแรงงาน ภาคประชาสังคม และนักวิชาการ ในการขับเคลื่อนให้เกิดการยกระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงานให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน และมาตรฐานสากล ส่งเสริมการมีงานทำของแรงงานที่ว่างงาน รวมทั้งผลักดันให้รัฐบาลให้การรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 เพื่อให้แรงงานทุกกลุ่มเข้าถึงระบบประกันสังคมและมีมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอและเหมาะสมต่อไป