ครม.ไฟเขียวแผนพัฒนาโลจิสติกส์ ดันไทยสู่ประตูการค้าในอาเซียน

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 ว่า ครม. เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบโลจิสติกส์เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าที่สำคัญในอนุภูมิภาคและภูมิภาค โดยขับเคลื่อนผ่าน 5 แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ดังนี้

1.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น 1) สร้างโครงข่ายการเชื่อมโยงการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ระหว่างท่าเรือ รถไฟ ถนน และท่าอากาศยานอย่างครอบคลุม เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่อุตสาหกรรมและด่านชายแดนสำคัญ 2) พัฒนาศูนย์บริการโลจิสติกส์และปรับปรุงด่านชายแดนที่สำคัญ 3) บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์บริการโลจิสติกส์ 4) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

2.ยกระดับมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าโซ่อุปทาน เช่น 1) พัฒนาการบริหารจัดกรโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตร 2) พัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เหมาะสมต่อการเติบโตของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม 3) การดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

3.การพัฒนาพิธีการศุลกากร กระบวนการนำเข้า-ส่งออกที่เกี่ยวข้อง และการอำนวยความสะดวกในการขนส่งระหว่างประเทศ เช่น 1) พัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลและใช้ประโยชน์จากระบบ National Single Window (NSW) 2) พัฒนากระบวนการโลจิสติกส์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ 3) พัฒนาการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดนและข้ามแดน 4) เร่งพัฒนาความร่วมมือและแก้ไขอุปสรรคการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 5) ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

4.พัฒนาศักยภาพ Logistics Service Providers: LSPs เช่น 1) เสริมสร้างศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ 2) ยกระดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยสู่เวทีสากล

5.ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาบุคลากร และการติดตามผลด้านโลจิสติกส์ เช่น 1) ส่งเสริมการวิจัยและนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัยภายในประเทศ 2) ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนากิจกรรมโลจิสติกส์ 3) พัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ 4) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาด้านโลจิสติกส์คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สำหรับเป้าหมายความสำเร็จภายใต้ร่างแผนปฏิบัติ ประกอบด้วย 1.สัดส่วนต้นทุนการขนส่งสินค้าต่อ GDP ลดลงเหลือร้อยละ 5 ต่อปี (ปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 6.4) 2.สัดส่วนต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังต่อ GDP ลดลงเหลือร้อยละ 5 ต่อปี (ปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 6.4) 3.อันดับดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) ด้านพิธีการศุลกากร อยู่ในอันดับ 25 หรือคะแนนไม่ต่ำกว่า 3.20 (ปี 2561 อยู่อันดับที่ 31 มีคะแนนอยู่ที่ 3.14 คะแนน) และ 4.อันดับ LPI ด้านสมรรถนะ LSPs ทั้งภาครัฐและธุรกิจ อยู่ในอันดับ 25 หรือคะแนนไม่ต่ำกว่า 3.60 (ปี 2561 อยู่อันที่ 32 มีคะแนนอยู่ที่ 3.41 คะแนน)

ทั้งนี้ สถานการณ์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในภาพรวม ปี 2564 ไทยมีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.8 ต่อ GDP ลดลงจากสัดส่วนปีก่อนหน้าที่ร้อยละ 14.0 ต่อ GDP ตามการฟื้นตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจภายในประเทศและแรงขับเคลื่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สำหรับในปี 2565 ต้นทุนโลจิสติกส์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่า สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยจะปรับลดลงอยู่ที่ ร้อยละ 12.9-13.3 ต่อ GDP

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า ครม. ยังมีมติเห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2561 เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2561 เพื่อมอบหมายให้กรมศุลกากรเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ NSW และกำหนดขอบเขตหน้าที่ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ให้เหมาะสมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

You May Also Like

More From Author